อันตรายของ “บารากู่”

“บารากู่” หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่า ฮุกก้า (Hookah) หรือ ชีช่า (Sheesha) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสูบยาเส้นชนิดหนึ่งที่มีมานานแล้ว ซึ่งนำเข้าจากประเทศอียิปต์หรืออินเดีย การสูบบารากู่ จะใช้เครื่องมือการสูบที่เป็นภาชนะเนื้อโลหะ รูปทรงคล้ายตะเกียงอาหรับ ทรงสูงปากแคบ ส่วนบนสุดใช้วาง ยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล (MU’ASSEL) ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวานอย่าง น้ำผึ้ง กากน้ำต...
าล ผลไม้หรือดอกไม้ตากแห้ง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่น มะม่วง กาแฟ วานิลลา มะนาว กุหลาบ รวมไปถึงสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้เกิดกลิ่นหอม ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยส์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้าในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำมายังส่วนล่างสุด ซึ่งด้านล่างจะเป็นกระเปาะใส่น้ำ เมื่อมีการทำความร้อน ยาสูบจะเกิดควันแล้วลอยผ่านมาทางน้ำ ซึ่งผู้สูบเชื่อว่าจะสามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เอาไว้ และผ่านไปยังท่อที่ต่อกับส่วนปากดูดเพื่อใช้ในการดูดควัน ซึ่งวิธีการที่สูบยาเส้นผ่านน้ำนี่เอง ทำให้ผู้สูบเข้าใจผิดว่า จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำอย่างบารากู่นั้น มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารนิโคติน และสารทาร์จำนวนมากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ำและการผสมกับผลไม้กลิ่นต่าง ๆ จะทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ทำให้ผู้สูบ สูบได้ลึกมากขึ้น และจำนวนมากขึ้น ถ้าใช้เวลาสูบนาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70 เท่า เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก แม้ว่าบารากุจะประกอบด้วยเปลือกผลไม้ ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่การสูบแต่ละครั้งนั้น เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งไ
การเสพบารากุ มีความผิด
ตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.๒๕๐๙ กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ยาสูบ ยาเส้นปรุง (บารากุ) ตามความผิดฐานมีไว้ในครอบครองยาสูบ,ยาเส้นปรุง (บารากุ) เกินกว่าห้าร้อยกรัม เป็นความผิดตามมาตรา 19 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒509
มาตรา 19 ห้ามมิให้ผู้ใดมียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัตินี้ไว้ในครอบครองเกินกว่าห้าร้อยกรัม นอกจากผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ
มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 ต้องระวางโทษปรับสิบเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด
ความผิดฐานขายยาสูบ, ยาเส้นปรุง (บารากุ) เป็นความผิดตามมาตรา 24 และบทกำหนดโทษตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒509
มาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเส้นหรือยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากยาเส้นที่ทำจากใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง
มาตรา 50 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับสิบห้าเท่าของค่าแสตมป์ยาสูบที่จะต้องปิด หรือที่ยังขาดอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยบาท
อัตราที่ใช้กำหนดให้ปรับ ขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่กำหนดโดยกระทรวงการคลังและประกาศราคาขายของกรมสรรพสามิตจึงมีอัตราโทษปรับที่สูง