กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี
มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการปฏิบัติงานด้าน
- งานด้านสังคมสงเคราะห์
- งานสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน
- งานพัฒนาชุมชน และงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
แบบขั้นบันไดตามช่วงอายุ
อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
อายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
อายุ 80-89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
อายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- มีสัญชาติไทย
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
- มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน/ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรืององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประดยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการยืนยันสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ดังนี้
- แบบยืนยันสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบันและมีชื่อในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารกรุงไทย (ในนามผู้มีสิทธิ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
*กรณีมอบอำนาจ (ผู้สูงอายุไม่สามารถแจ้งความประสงค์การรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองได้ หรือ มีความประสงค์ที่จะรับโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ)
- หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารกรุงไทย (ในนามบุคคลที่รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพความพิการ
คนพิการที่อายุ ต่ำกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 1,000 บาท
คนพิการที่อายุมากกว่า 18 ปี ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพความพิการ
- มีสัญชาติไทย
- มีบัตรประจำตัวคนพิการ
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
- ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสวสัดิการเบี้ยยังชีพความพิการกำหนด
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพความพิการ ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน/ใบสูติบัตร (กรณีเป็นเด็ก) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบันและมีชื่อในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารกรุงไทย (ในนามผู้มีสิทธิ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
1 ฉบับ
*กรณีมอบอำนาจ (คนพิการไม่สามารถแจ้งความประสงค์การรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองได้ หรือ มีความประสงค์ที่จะรับโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ)
- หนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารกรุงไทย (ในนามบุคคลที่รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
การจดทะเบียนความพิการ (บัตรประจำตัวคนพิการ)
คุณสมบัติของคนพิการที่ยื่นคำขอ
- เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
- บุคคลที่ยังไม่ได้แจ้งเกิดหรือบุคคลที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าสัญชาติไทยต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ก่อน
โดยเตรียมหลักฐานประกอบการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ สูติบัตร(สำหรับบุคคลอายุต่ำกว่าสิบห้าปี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- รูปถ่ายคนพิการ ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีที่คนพิการไม่ได้มายื่นคำขอด้วยตนเอง
- เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งรับรองโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนด
*เอกสารหลักฐานของผู้ดูแลคนพิการ (เป็นผู้ซี่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับคนพิการ หรือเป็นผู้ดูแลคนพิการซี่งคนพิการอาศัยอยู่ด้วยตามความเป็นจริง)
- บัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้ดูแล พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี (อาคารหลังที่ว่าการอำเภอเมืองชลบุรี)
- กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแสนสุข
การจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
ได้รับเดือนละ 500 บาท
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
- มีสัญชาติไทย
- มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
- เป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว
- มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการรับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ ดังนี้
- ใบรับรองแพทย์ที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์ จากโรงพยาบาลของรัฐ (ฉบับจริงเท่านั้น)
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารกรุงไทย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อนการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
จะได้รับเดือน 600 บาท จนเด็กอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
คุณสมบัติของเด็กแรกเกิด
- มีสัญชาติไทย
- อายุไม่เกิน 6 ปี
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (ครัวเรือนที่มีสมาชิกมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี)
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานรัฐ หรือเอกชนตามที่อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนประกาศกำหนด
- อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข
คุณสมบัติของผู้ปกครอง
- เป็นผู้เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
- เด็กแรกเกิดพักอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย (ครัวเรือนที่มีสมาชิกมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี)
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการลงทะเบียน ดังนี้
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
- แบบรับรองสถานนะของครัวเรือน (ดร.02)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ที่ลงทะเบียน (ผู้ปกครอง) (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาสูติบัตรเด็ก (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
- สำเนาเอกสาร หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ บัตรหรือเอกสารอื่นใดที่แสดงสถานะหรือตำแหน่งของผู้รับรองคนที่ 1 (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือชุมชน (อสม.)) และผู้รับรองคนที่ 2 (ประธานชุมชน)
***กรณีแบบรับรองสถานะครัวเรือน ครอบครัวใดที่มีบุคคลทำงานในหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ/บริษัท ต้องมีใบรับรองเงินเดือน
5.1 แบบคำขอรับความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม (เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน/เงินช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน/เงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ)
โดยเตรียมหลักฐานที่ใช้ในการลงทะเบียน ดังนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อ 1 ฉบับ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ (สามารถใช้ได้ทุกธนาคาร) 1 ฉบับ
5.2 การขอรับเงินสงเคราะห์การจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
คุณสมบัติของผู้สูงอายุที่เสียชีวิต (ยื่นคำขอภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตร)
- อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- มีสัญชาติไทย
- เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ หรือโครงการสวัสดิการในลักษณะเดียวกันที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
โดยเตรียมหลักฐานในการยื่นคำขอ ดังนี้
- แบบคำขอรับเงินสงเคราะห์ (ศผส.01)
*กรณีไม่ได้รับสิทธิตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ขอให้ผู้รับรอง ทำแบบรับรองตามแบบ (ศผส.02) ที่กำหนด
- แบบแจ้งข้อมูลการรับเงินโอนผ่านระบบ Krungthai Corporate Online
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ 1 ฉบับ
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้สูงอายุที่เสียชีวิต 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้สูงอายุที่เสียชีวิต 1 ฉบับ
- สำหน้าบัญชีธนาคารของผู้ยื่นคำขอ (ธนาคารทุกแห่ง) 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตำแหน่งของประธานชุมชน (พร้อมสำเนาด้านหลังบัตร) 1 ฉบับ
- ผลการตรวจสอบโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
5.3 การปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุ/คนพิการ
คุณสมบัติของผู้ขอรับการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
- เป็นผู้สูงอายุ หรือคนพิการ (ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ)
- อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ฐานะยากจน หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ
- ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคง หรือไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ/คนพิการ
- ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอในการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยฯ
* กรณีไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยแห่งนั้น ต้องมีหลักฐานการให้ความยินยอมจากเจ้าของหรือผู้ได้รับอำนาจจากเจ้าของเพื่อให้มีการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
โดยเตรียมหลักฐานในการยื่นคำขอ ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน /สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ (กรณีเป็นคนพิการ)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือให้ความยินยอมจากเจ้าของ หรือผู้ได้รับอบอำนาจจากเจ้าของ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของ
5.4 การกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
คุณสมบัติของผู้กู้ยืม
- เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ
- อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และไม่เกิน 70 ปี
- ต้องมีชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดชลบุรี ซึ่งได้พักอาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน และประกอบอาชีพในจังหวัดชลบุรีเท่านั้น
- คนพิการประเภท 4,5,6,7 ไม่สามารถขอกู้เงินเองได้ (ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิขอกู้แทน ต้องมีความเห็นของแพทย์ กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้แทนคนพิการที่ไม่สามารถปรกอบกิจวัตรประจำวันได้)
- ต้องไม่มีหนี้ค้างจากกองทุนฯ คนพิการ
- ต้องมีผู้ค้ำประกัน
คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
- มีความสามารถในการทำนิติกรรม (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 59 ปี)
- มีภูมิลำเนา มีอาชีพ และรายได้มั่นคง (มีหนังสือรับรองเงินเดือน) อยู่ในจังหวัดชลบุรี ชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดชลบุรี ซึ่งได้พักอาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน
- ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีประวัติการค้างชำระหนี้เงินกองทุนฯ ติดต่อกัน 2 งวด
- ต้องไม่เป็น สามีหรือภรรยาของผู้กู้ยืมตามกฎหมายและทางพฤตินัย
เอกสารที่ต้องนํามาประกอบในการยื่นคําร้อง คําร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนฯ หรือที่ https://efund.dep.go.th/
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน และสําเนาบัตรประจําตัวคนพิการ (ผู้กู้และคนพิการ)
- สําเนาทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดชลบุรี (ผู้กู้และคนพิการ)
- แผนที่เดินทางของที่อยู่อาศัยและแผนที่ประกอบอาชีพ ของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
- รูปถ่ายผู้กู้ เต็มตัว ขนาด 4x6 นิ้ว จํานวน 1 รูป
- สําเนาหนังสือสัญญาเช่าบ้านหรือเอกสารรับรองการมีถิ่นที่อยู่ถาวรในจังหวัดชลบุรี
- สําเนาทะเบียนบ้านและสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน (มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดชลบุรี อายุไม่เกิน 59 ปี สามีภรรยาไม่สามารถค้ำประกันให้กันได้)
- หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน ออกไม่เกิน 1 เดือน
- หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะคนพิการ (กรณีผู้ดูแลขอกู้แทนคนพิการต้องอายุไม่เกิน 59 ปี)
- หนังสือยินยอมคู่สมรสของผู้กู้ยืมและของผู้ค้ำประกัน
- ประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพที่ขอกู้
- ความเห็นของแพทย์กรณีผู้ดูแลคนพิการกู้แทนคนพิการที่ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
- สําเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของผู้กู้ยืม (ธนาคารกรุงไทย)
5.5 การกู้ยืนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
คุณสมบัติของผู้กู้ยืม
- มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านเงินทุนประกอบอาชีพ
- มีความสามารถในการประกอบอาชีพ
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
- ประกอบอาชีพในจังหวัดชลบุรี
- ไม่เป็นผู้กู้ หรือผู้ค้ำของกองทุนผู้สูงอายุ
คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย และมีอายุไม่เกิน 57 ปีบริบูรณ์
- มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี
- เป็นผู้มีรายได้ หรือเงินเดือนประจำไม่น้องกว่า 9,000 บาท
- ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ผู้สูงอายุบุคคลอื่น
- ไม่เป็นสามีหรือภรรยาของผู้กู้ยืมตามกฎหมายและทางพฤตินัย
เอกสารที่ต้องนํามาประกอบในการยื่นคําร้อง
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน (ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน)
- สําเนาทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดชลบุรี (ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน)
- หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน ออกไม่เกิน 1 เดือน
- ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี)
- ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)